Tuesday, 27 November 2012

The touchy Thai's comments


How to tell if you're still a farang
Author : Songkran Grachangnetara
As a Thai who has spent some time abroad I consider myself able to evaluate whether a farang, (I use this term endearingly) has been properly assimilated into Thai society.
So I thought it might be useful to my many farang friends and readers to devise a simple test to help guide farang who may be wondering whether they have indeed successfully made the seamless transition into becoming a Thai.
Here is my simple test.
- You're a farang if you still comprehend satire and sarcasm and find it amusing. I have written about this in my previous articles, but for the benefit of touchy Thai readers who might find my sweeping generalisations offensive it is certainly not intended as such. Satire and sarcasm can land you in deep water so please exercise it with extreme caution.
- You're a farang if you still can't understand why Thai women marry Thai men. Most farang think Thai men are women-suppressing, self-aggrandising, backward-thinking, chain-smoking, whiskey-guzzling, time-wasting delinquents. Farang simply don't understand why a nice Thai girl would marry someone that is devoid of any endearing or redeeming qualities commonly found in many farang men.
Well, this might be news to you, but getting married in this country is often not about what the woman wants in a partner, but rather what her Thai parents deem acceptable as someone that's going to become their daughter's husband. Many Thai marriages are family affairs.
- You're a farang if you still think it is important to be punctual and get extremely irritated with Thais' nonchalant attitude towards tardiness.
Here is some sound advice when making an appointment. If you've got an appointment with a Thai at 5pm, add another 15 minutes.
If the meeting is on Friday, you'd better add 30 minutes.
If the person you're meeting is a Thai woman, you'd better add an hour. Now you've got the idea.
- You're a farang if you love Max, your golden retriever, more than you love your wife. The English are especially guilty of this.
The love that the English have for their dogs is world-famous. Only a fatal accident or an earthquake above seven on the Richter scale would prevent an Englishman from walking his dog once a day after supper.
Of course, Thais are also extremely fond of their canine friends. That is, until man's best friend _ in a few certain provinces _ provides their master with a cheap alternative to your Christmas turkey.
- You're a farang if you still can't appreciate gossiping, or have yet to master the technique.
Gossiping for Thais is more than pastime. Rumours and innuendos have become one of the foundations of our entire culture. The way that Thais behave socially has simply not kept up with the great strides we have made technologically or economically.
Essentially, we behave as though we are Hobbits of the Shire where everyone else's business is our own. Unfortunately our village mentality leads us to cherry-picking facts to accommodate prejudices. The truth in many cases is buried under a huge pile of putrid lies and comtemptible deceit.
- You're a farang if you still walk a Bangkok zebra crossing with total confidence passing vehicles will screech to a halt and allow you safe passage. Many farang have tried this but unfortunately not many have lived to tell their tale.
- You're a farang if you still think Red Bull has farang origins.
- You're a farang if after a few years of living in Thailand you still prefer using a fork rather than a spoon to eat rice.
- You're a farang if you still expect Thai politicians to resign over offences like committing adultery while in office. The resignation of someone like General Patraeus, a decorated war hero and the director of the Central Intelligence Agency over an admitted affair with his married biographer would be unheard of here.
Recently in the United Kingdom, government Chief Whip Andrew Mitchell had to hand in his resignation to the prime minister because he swore at a Downing Street police officer and called him a "pleb".
A few years before the Mitchell affair, the then-prime minister Gordon Brown of the previous Labour Government resigned as party leader after that little hiccup known as "losing a general election".
In Thailand we prefer our political and military leaders to be unshackled by high ethical and moral standards, unhindered by the demands of personal accountability and unburdened by the sense of shame that would make lesser men breakdown under the glare of public scrutiny.
- And lastly, you're a farang, if after living here for a decade your Thai is still only good enough to order chicken rice and iced tea.
However, for you uninspired farang who find it hard to learn Thai, look no further than His Excellency Mark Kent, the British Ambassador who gave a whole welcome speech in Thai at a lovely gathering held in the Ambassador's Residence which I attended recently.
For you Brits out there, now you know who to call for free Thai lessons!


Songkran Grachangnetara is an entrepreneur. He graduated from The London School of Economics and Columbia University. He can be reached at Twitter: @SongkranTalk



Remarks

This is in response to Mr. Songkran’s article, the author of “How to tell if you are a Farang” on 28th November 2012, I would like to express my thoughts at some points that I am not quite pleased with his weak assumptions and vague analyses about Thais. I can call myself as a touchy but rational one.
Sure enough, to determine the extent to which the degree of foreignerness account is hard to measure. However, we have compromisingly assumed that lots of Thais are in favour of or ‘pro’ the Anglo or American people, in particular. Therefore, most Farang’s characteristics can be regarded as well as valued as a good thing, superficially.  Also, author is so-called a partial-foreigner who have studied abroad for a long time. Thus, the author may have authority to set the criteria of whether Farang will be like or not.
At first, the article looked good and pretty hilarious. Its title is also eye-catching, in particular. However, once I kept reading, many issues were dubiously provocative rather than thoughtful. The provisions of skeptical issues concern with sexism, racism and directly insult Thai people. Even though, the author had proclaimed the disclaimer in advanced, as the proper and educated writer in the most prestigious English newspaper in Siam, this is absolutely intolerable.
The author ‘simple tests’ were saliently too shallow and implicated in most of  the grey area. Even foreigners, like the Anglos, to some extent, they are also behaving and exercising their powers as what the author remarked, particularly in the wicked facets, as that Thais. Furthermore, nowadays, the new generation of Thais no longer did or behave such old-fashioned or lame practices like the writer mentioned anymore. 
First, the issue concerns with the how women make their choices of get the best husbands, at first, on one hand, it seemed the author launched an attack against Thai men that they were bad and unworthy to be their spouse in Farang’s view which is not true. This wrong mindset seemed to insult can be implied that all Thai men are ill-manner and stupid. On the other hand, this proposition will be implied that Thai women are quite not smart, either. Because, if they are shrewd, they will never accept that dictatorial Thai male’s proposals after all.  Thus, it showed that the author did not understand what Farang conceptualized about Thais well enough.
Also, in the issue of smoking, I have seen a lot of Farangs are chain smokers even in the cinema or driving. On top of that, since we have known very well that the individuality and identity of particular person are different, even the author himself. To make an attempt to stereotype and overgeneralise both Farang and Thai’s practices vaguely are unconvincing.
In addition, Thai adults getting marriage under their parental approval are untrue. If the author has observed closer, adults have already actively got an idea of carnal knowledge prior to get married, even youngsters master that. This is very common for them to get married by their own choices.
In addition, it is not very new for Farang to learn about this marriage practices, regardless of they are so naïve, to know that in the past, Indo-China, accompanied by China mainland people, have held this practice for a long time. However, this post-modern era, it is not true enough. I think educated Farangs have already acknowledged as well as knew this well.

Unfortunately, the author has blamed Thai women concerning the ill-punctuality. I strongly disagree with this argument. In my view, in general females are much better than males to some extent in this point. In addition, we can see that a number of elites such as professors and senior managerial females from various prestigious institutions in Siam, they do not withstand lateness. If the author thought about those cute slackers such as “SA-KOI” girls, that’s probably true.

One more thing regarding love and affection of dogs in Farang, I think so are Thais. The author’s comment can be interpreted that Thais do not love their pets as much as Farang do. For instance, certain males might love his singing birds, like the northern Thais, or love their native fighting roosters, like the northern Thais. Thus, this is still very true and vice versa. Both of ethics did something harsh and cruel to that poor creature, either.
If you have claimed that Farang loves their so called “Golden Retriever” more than their infatuated wives, you are about to guide those Farang to get married with their dogs, isn’t it? Thus, these two weak arguments induce a negative message to both foreigners and Thais. I think both of ethnicities are fond of animals. Even though, management and administration scheme of Farang’s animal’s right and protection are much clearer than that Thai.

I think that the author have articulated pleb himself already. In fact, at a faintest idea, Red Bull is authentically Thai products and lots of Farang hardly know about this fact.

Koineize 

Monday, 19 November 2012

อักษรสามหมู่




วิธ๊จำอักษร 3 หมู่

พยัญชนะไทยมี 44 ตัว แบ่งเป็นกลุ่มตามลักษณะการผันอักษรได้ 3 กลุ่ม เรียกว่าอักษร 3 หมู่ ดังนี้

1. อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

การที่จะจำอักษรกลางให้ได้ง่าย ๆ ให้ท่องว่า ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง

ไก่ ( ก ) จิก ( จ ) เด็ก( ฎ ) ตาย ( ฏ ) เด็ก ( ด ) ตาย ( ต ) บน ( บ ) ปาก ( ป ) โอ่ง ( อ )

2. อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

การที่จะจำอักษรสูงให้ได้ง่าย ๆ ให้ท่องว่า ผี ฝาก ถุง ข้าว สาร ให้ ฉัน

ผี ( ผ ) ฝาก ( ฝ ) ถุง ( ฐ ถ ) ข้าว ( ฃ ข ) สาร ( ศ ษ ส ) ให้ ( ห ) ฉัน ( ฉ )

3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว สำหรับอักษรต่ำสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทครับ คืออักษรคู่และอักษร

เดี่ยว อักษรคู่คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับกับอักษรสูง เช่น ข กับ ค พ กับ ผ 

3.1 อักษรคู่ มี 14 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ

การที่จะจำอักษรต่ำประเภทอักษรคู่ให้ได้ง่าย ๆ ให้ท่องว่า พ่อ ค้า ฟัน ทอง ซื้อ ช้าง ฮ่อ

พ่อ ( พ ภ ) ค้า ( ค ฅ ) ฟัน ( ฟ ) ทอง ( ฒ ฑ ท ธ ) ซื้อ ( ซ ) ช้าง ( ช ) ฮ่อ (ฮ )

3.2 อักษรเดี่ยว มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ 

การที่จะจำอักษรต่ำประเภทอักษรเดี่ยวให้ได้ง่าย ๆ ให้ท่องว่า งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก 

งู ( ง ) ใหญ่ ( ญ ) นอน ( น ) อยู่ ( ย ) ณ( ณ ) ริม ( ร ) วัด ( ว ) โม ( ม ) ฬี ( ฬ ) โลก ( ล )



ข้อควรรู้จาก
http://krupiyarerk.wordpress.com/2011/09/09/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3-3-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88/

อักษรต่ำ
อักษรต่ำ  มีทั้งหมด ๒๔ ตัว ได้แก่
ค ฅ ฆ ง
ช ซ ฌ ญ
ฑ ฒ ณ ท ธ น
พ ฟ ภ ม
ย ร ล  ว ฬ ฮ
อักษรต่ำที่นิยมนำมาผันอักษร คือ ค ง ช ท น พ ฟ ม ย ร ล ว
อักษรต่ำ  แยกออกเป็น  อักษรคู่  และ  อักษรเดี่ยว เพื่อประโยชน์ในการผันอักษรให้ครบ  ๕  เสียง  ดังนี้
         อักษรคู่  มีทั้งหมด ๑๔ ตัว ได้แก่
ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ  

โดยอักษรคู่นี้ต้องผันเสียงทำหน้าที่ร่วมกับอักษรสูง  (พิจารณาตามหน่วยเสียง)  ดังนี้
/ค/   ค ฅ ฆ           ผันอักษรร่วมกับ  ข
/ช/   ช ฌ             ผันอักษรร่วมกับ  ฉ
/ซ/   ซ                ผันอักษรร่วมกับ  ส
/ท/   ฑ ฒ ท ธ       ผันอักษรร่วมกับ  ถ
/พ/   พ  ภ             ผันอักษรร่วมกับ  ผ
/ฟ/   ฟ                 ผันอักษรร่วมกับ  ฝ
/ฮ/   ฮ                  ผันอักษรร่วมกับ  ห

อักษรเดี่ยว  มีทั้งหมด ๑๐ ตัว ได้แก่
ง  ญ  ณ  น  ม   ย   ร   ล  ว  ฬ

อักษรต่ำเดี่ยวนี้ต้องผันเสียงทำหน้าที่ร่วมกับอักษร  “อ  และ  ห”  อันทำหน้าที่เป็นอักษรนำเพื่อผันอักษรให้ครบ ๕ เสียง

note: อักษรต่ำ เช่น คะ (คำตาย) เป็นเสียงตรี ไม่มีรูปวรรณยุกต์  ค่ะ เสียงวรรณยุกต์เอก 



ข้อมูลจากอีกแหล่งหนึ่งที่เขียนไว้อย่างดี

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C

การผันวรรณยุกต์

        ผันวรรณยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.วรรณยุกต์มีรูป หมายถึงวรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่เบื้องบนอักษร มีอยู่ 4 รูปคือ
วรรณยุกต์ เอก
วรรณยุกต์ โท
วรรณยุกต์ ตรี
วรรณยุกต์ จัตวา
โดยลำดับ และให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตอนสุดท้าย เช่น
        ก่ ก้ ก๊ ก๋ ปั่น ปั้น ลื่น เลี่ยน เป็นต้น ถ้าเป็นอักษรควบหรืออักษรนำให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตัวที่ 2 เช่น
        ครุ่น คลื่น เกลื่อน เกล้า ใกล้ เสน่ห์ หมั่น โกร๋น ฯลฯ
        รูปวรรณยุกต์นี้เริ่มใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่มีใช้อยู่เพียง 2 รูปเท่านั้นคือ ไม้เอก กับไม้โท แต่ไม้โทในสมัยนั้นเขียนเป็นรูป กากบาท ( + ) เหมือนไม้จัตวาในปัจจุบัน
        ต่อมาในปลายสมัยกรุงสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนรูปกากบาทมาเป็นรูปไม้โทเช่นปัจจุบัน ส่วนไม้ตรีกับไม้จัตวายังไม่มีใช้ น่าจะเพิ่มมีใช้เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะได้คิดสำหรับใช้เขียนคำที่มาจากภาษาจีนเป็นมูลเหตุ ดังปรากฎคำเขียนอยู่ในกฎหมายศักดินาพลเรือนซึ่งมีคำเขียนเป็นภาษาจีนที่ใช้ไม้ตรีและจัตวากำกับอยู่หลายชื่อเช่น จุ้นจู๊ - นายสำเภา , บั๋นจู๊ - พนักงานซ่อมแปลงสำเภา เป็นต้น
        ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือก่อนนั้นขึ้นไปก็ยังไม่มีวรรณยุกต์ตรี หรือวรรณยุกต์จัตวาใช้ ข้อนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่งขึ้นในสมัยนั้น
มีโคลงบอกวรรณยุกต์ไว้บทหนึ่งว่า
สมุหเสมียนเรียนรอบรู้ วิสัญช์
พินเอกพินโททัณ ฑฆาตคู้
ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา
แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน
        ข้อความในโคลงบทนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรี และ วรรณยุกต์จัตวาใช้ ถ้ามีใช้คงจะได้ปรากฎอยู่ในโคลงบทนี้ เพราะเป็นตำราเรียนอยู่ในสมัยนั้น
2.วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่เสียงที่มีทำนองสูงต่ำตามหมวดหมู่ของตัวอักษร โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนมีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ด้วยเช่น นา หนะ นาก นะ หนา ฯลฯ
        วรรณยุกต์ไม่มีรูปต่างกับวรรณยุกต์ที่มีรูปคือ วรรณยุกต์ที่มีรูปจะต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับอยู่บนตัวอักษร และมีเพียง 4 เสียงเท่านั้นคือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ตามรูปวรรณยุกต์แต่ไม่มีเสียงสามัญ ส่วนวรรณยุกต์ไม่มีรูปจะมีครบทั้ง 5 เสียงเต็มตามจำนวนเสียงที่กำหนดใช้อยู่ในภาษาไทย โดยไม่มีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับ แต่อาศัยการออกเสียงตามหมู่ของอักษรทั้ง 3

 เสียงของการผันวรรณยุกต์ เราแบ่งได้ดังนี้

  • พื้นเสียง คือ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์
  • คำเป็น คือ คำที่ประสมกับสระเสียงยาว (แม่ก.กา) หรือเสียงสั้นที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่น มา กิน ข้าว ฯลฯ   และรวมคำที่ประสมกับสระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา 
  • คำตาย คือ คำที่ประสมกับสระเสียงสั้น(แม่ก.กา) หรือเสียงยาวที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น เด็ก นะ จาก ฯลฯ และ ไม่รวมคำที่ประสมกับสระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา 
  • คำตาย ผันได้ 3 แบบ ใช้รูปเขียนวรรณยุกต์ เอก โท จัตวา แต่เสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฎจริงอาจจะไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
2.คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ

วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์

        วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์ นั้น ใช้ผันรูปวรรณยุกต์ต่าง ๆ กันดังนี้

A) อักษรสูง สามารถผันได้ด้วยวรรณยุกต์รูป เอก และ โท คำเป็นผันได้ 3 เสียงวรรณยุกต์ คำตายผันได้ 2 เสียงวรรณยุกต์ 
หมายเหตุ  แม้ว่า อักษรสูง-คำตาย-เสียงสั้นสามารถใช้รูปวรรณยุกต์ได้ทั้งสองก็จริง แล้วก็เกิดเสียงได้จริง แต่ว่าเราต้องยึดที่ความหมาย เพราะไม่ อักษรสูง คำตาย เสียงสั้น ที่ใช้รูปวรรณยุกต์โท ไม่มีความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน
ภาพ:การผัน.JPG
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา         เช่น ขา ขง ขน ขม เขย ขาว เมื่อผันด้วยรูปวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงวรรณยุกต์เอก        เช่น ข่า ข่ง ข่น ข่ม เข่ย ข่าว เมื่อผันด้วยรูปวรรณยุกต์โท        ก็ยังคงเป็นเสียงวรรณยุกต์โท         เช่น ข้า ข้ง ข้น ข้ม เข้ย ข้าว
คำตาย (คำเสียงสั้นในแม่ ก.กา หรือคำที่มีเสียงยาวแต่มีตัวสะกด ในแม่ กก กบ และ กด ยกเว้น อำ ไอ ใอ เอา) พื้นเสียงเป็นเสียงเอก) เช่น ขะ ขก ขด ขบ ขาก ขาด ขาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด ข้บ ข้าก ข้าด ข้าบ
(ข้อสังเกตเรื่อง อักษรสูง-คำตาย คือ ตามกฎของอักษรสูงคำเป็นที่มีข้อจำกัดในการการผัน กล่าวคือ ผันได้เพียงสามเสียง แต่ อักษรสูงคำตายจะเลื่อนเสียงวรรณยกุต์ไปอีก 1 ขั้น และต้องใช้รูปแบบอื่นๆ มาช่วยจึงจะผันได้มากขึ้น (อนึ่งในที่นี้ไม่ได้ยึดตามแนวกลสัทศาสตร์ แต่ยึด การเรียงวรรณยุกต์ เอก-จัตวา แบบ classic)

ภาพ:กลาง1.JPG
คำเป็น ผันได้ 5 คำ คำตายผันได้ 4 คำ คำเป็น         พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว
ผันด้วยวรรณยุกต์เอก        เป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว
คำตาย         พื้นเสียงเป็นเสียงเอก (สูญเสียเสียงสามัญไป) เช่น กะ กก กด กบ กาก กาด กาบ
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้ะ ก้ก ก้ด ก้บ ก้าก ก้าด ก้าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊ะ ก๊ก ก๊ด ก๊บ ก๊าก ก๊าด ก๊าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋ะ ก๋ก ก๋ด ก๋บ ก๋าก ก๋าด ก๋าบ

C) อักษรต่ำ ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท คำเป็นผันได้ 3 คำ พยัญชนะเสียงต่ำ
ภาพ:ต่ำ1.JPG
คำเป็น         พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา คง คน คม เคย คาว
ผันด้วยรูปวรรณยุกต์เอก  (+1)      เป็นเสียงโท เช่น ค่า ค่ง ค่น ค่ม เค่ย ค่าว
ผันด้วยรูปวรรณยุกต์โท (+1)        เป็นเสียงตรี เช่น ค้า ค้ง ค้น ค้ม เค้ย ค้าว
คำตาย สระสั้น       ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่ พื้นเสียงเป็นตรี (+4)  เช่น คะ คก คด คบ
ผันด้วยรูปวรรณยุกต์เอก (+1)       เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ
ผันด้วยรูปวรรณยุกต์จัตวา (+0)       เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
คำตาย สระยาว        พื้นเสียงเป็นโท (+3) เช่น คาก คาด คาบ
ผันด้วยวรรณยุกต์โท    (+1)    เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ
หมายเหตุ:  (+x) หมายเลขแสดงระดับการเปลี่ยนแปลง เช่น คำตายเสียงสั้น  พื้นเสียงไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่เป็นเสียงตรี (+4 = ตรี)

      โดยสรุป จะเห็นได้ว่า 
1)อักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปวรรณยุกต์เสมอ 
2) อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่ารูปวรรณยุกต์หนึ่งขั้น เว้นไว้แต่รูปวรรณยุกต์จัตวา ซึ่งเสียงคงเป็นจัตวาตามรูปวรรณยุกต์เพราะไม่มีเสียงใดที่จะสูงไปกว่านั้นอีก เพราะเหตุที่อักษรต่ำมีเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ จึงมักทำให้เกิดความฉงนในเวลาต้องการจะทราบเสียงวรรณยุกต์ที่แท้จริง แต่ถ้าเข้าใจวิธีผันอักษรกลางเป็นอย่างดีแล้วก็สามารถเทียบเสียงได้โดยอาศัยอักษรกลางเป็นหลัก
ภาพ:ไตรยางค์.JPG
ตารางแสดงสรุปตัวอย่างการผันวรรณยุกต์ ของไตรยางศ์ 3 เสียง


สรุปกฎการผันโดยใช้พื้นเสียงเป็นเกณฑ์ (พื้นเสียงหมายถึง รูปคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ แต่มีเสียงวรรณยุกต์และมีกฏเฉพาะตายตัว)
อักษรกลาง คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ
อักษรกลาง คำตาย (กบด+เสียงสั้น ยกเว้น อำ ไอ ใอ เอา) พื้นเสียงเป็นเสียงเอก
*อักษรสูง คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา
*อักษรสูง คำตาย (กบด+เสียงสั้น ยกเว้น อำ ไอ ใอ เอา) พื้นเสียงเป็นเสียงเอก
อักษรต่ำ คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ
*อักษรต่ำ คำตายทั้งเสียงสั้น และยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท
ตัวอย่าง
!!!*อักษรต่ำ คำตาย เสียงยาว ที่มีตัวสะกด (กบด) พื้นเสียงเป็นเสียงโท (ระวังจะผันผิด เพราะเสียงจะไม่ซ้ำกันกับเสียงตร ในขณะที่ อักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น เสียงของโทและตรีจะซ้ำกัน ให้ยึดเสียงตรี เช่น kha33 kha11 kha42 kha42 kha11 ไม่มีตำแหน่งเสียงโท (ที่สาม)และจัตวา(ที่สี่))
เช่น งาบ (เสียงโท จังหวะนับจะได้ทั้งจังหวะโทและตรีให้ยึดตรี) ชาด (เสียงโท) ยาก (เสียงโท)
!!!อักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น (แม่ก.กา) หรือมีตัวสะกด (กบด) พื้นเสียงเป็นเสียงตรี
(ต่ำคู่) เช่น คะ  (เสียงตรี)  ชะ (ตรี) ทะ (ตรี) พะ (ตรี) ฟะ (ตรี) ฮะ (ตรี)
 (ต่ำเดี่ยว) เช่น 
งะ (ตรี) นะ (ตรี)ยะ (ตรี) ระ(ตรี)วะ(ตรี)

เราพบว่าวิธีท่องตำแหน่งทั้ง 5 โดยยึดตำแหน่งคล้ายกับอักษรกลาง จะทำให้ผันวรรณยุกต์ผิดได้ เพราะ อักษรตำ่ คำตาย เสียงสั้นและยาว (พื้นเสียงต่างกัน ตรี และโท ตามลำดับ) จะเกิดปัญหาในการท่อง เพราะต่ำแหน่งที่ 3 และ 4 เสียงวรรณยุกต์จะซ้ำกันเสมอ แม้เราจะใช้อักษรกลางเป็นหลักแล้วก็ตาม วิธีที่ดีที่สุด ต้องฝึกฟังเสียง และจับเสียงขึ้นลงให่ได้ (pitch)จะถูกต้องมากที่สุด ซึ่งนักภาษาศาสตร์ก็ทำแบบนั้น เพราะจะทำให้กฎมีน้อยและถูกต้อง 100%

เช่น คะ เสียงตรี  สูง         high tone 55
    คาด เสียงโท เสียงตก    falling   42
ต้องฝึกจดจำเสียง ear training จะแม่นยำมากที่สุด แต่ถ้าไม่ได้ ก็ต้องมาจำ trick ที่ว่า 


ต่ำ ตาย ยาว โท คาดคัั้น
ต่ำ ตาย สั้น ตรี คะ


ขอขอบคุณ reference ที่ทำให้ผมพอเข้าใจเรื่องการผันวรรณยุกต์ไทยที่แสนจะซับซ้อนจนได้








Wednesday, 14 November 2012


ที่มาของคำว่า "นั่งไขว่ห้าง"

ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณเจ้าของกระทู้ใน FB ซึ่งผู้เขียนก็ไม่กล้าจะล่วงละเมิดไปตอบคำถาม เพราะเจ้าของกระทู้เขาไม่ได้ถามเอง กลัวเขาจะว่า เขาถามคนอื่น แต่ก็มีอาการอยากจะตอบเสียเต็มที่ จึงพยายามลองวิเคราะห์ดู และได้คำตอบดังนี้ ว่าคำนี้ น่าจะมีที่ไปที่มาเป็นอย่างไร

ผู้เขียนจึงพยายามที่จะอธิบายและแสดงที่มาของคำๆ นี้ว่าน่าจะมีที่มาที่ไปอย่างไร

คำว่า นั่งไขว่ห้าง นั่ง นั้นเราคงไม่ต้องบรรยายว่าหมายถึงอะไร ก็เป็นที่รู้กันดี ลองไปดู wikipedia ก็เขียนไว้ดีมากในคำอธิบายทีเ่ป็นภาษาอังกฤษ (sit)

ขอเสริมก่อนว่า น่าสนใจว่า ในภาษาอังกฤษ คำว่า "นั่งไขว่ห้าง" จะใช่คำว่า "cross-legged" ซึ่่งกินความหมายที่กว้างกว่าภาษาไทย เพราะ หมายถึง การนั่งขัดสมาธิทุกประเภท และการนั่งไขว่ห้างด้วย เราจึงอนุมานได้ว่า ในภาษาไทยมีการจำแนกคำที่ละเอียดมากกว่า เพราะในภาษาไทย มีการบ่งชี้ลักษณะการนั่งมากมาย ในกรณีที่ท่านั่งนั้นๆ เป็นท่านั่งมาตรฐาน (หรืออาจคิดในมุมกลับกัน ฝรั่งมองว่า ท่านั่งเหล่านี้ไม่มาตรฐานสำหรับเขา หรือ อาจจะถามคนไทยว่า ทำไมยูไม่นั่งบนเก้าอี้หรือโซฟาแทนล่ะ นั่งกับพื้น เมื่อยจะแย่ ประหลาดจัง) เช่น นั่งพับเพียบ (แต่ผู้เขียนก็ยังไม่ได้รวบรวมและนำมาเปรียบกันสักที) อนึ่ง รูปคำเรียกการนั่งเหล่านี้ ไม่ได้รวมการใช้หน่วยคำอุปสรรค/ theme (นั่ง) +คำแสดงอารมณ์ เช่น นั่งจับเจ่า นั่งเหงา หรือ การนั่งประเภทอื่นๆ เช่น นั่งถ่าย นั่งๆ นอนๆ ฯลฯ เราจะยังไม่นับคำเหล่านี้ เนื่องจาก ในภาษาอังกฤษก็น่าจะมีคำเหล่านี้ไม่น้อย เรายังเน้นที่การนั่งแบบมาตราฐานทั่วไป มิใช่คำแสดงอารมณ์ หรือ แสดงสภาวะทางจิตบางประการ

 กลับมาที่เรื่องเดิม "ไขว่ห้าง"  เราจะพิจารณาคำว่า "ห้าง" ที่หลังสุด คำว่า ไขว่ (ผู้เขียนคิดว่า คำนี้ มักจะไปกับคำว่า คว้า)  ซึ่งหมายถึง การหาที่มั่น จับ ยึด เกี่ยว กระหวัดไว้ไม่ให้ตกลงไป หรือ โบกมือไปเหนือหัว เพื่อไปคว้าอะไรบางอย่างไว้ที่อยู่นิ่ง หรือหลัก  ดังนั้น น่าจะเป็นอุปลักษณ์ (metaphor) เกี่ยวกับลักษณะการนั่งที่ไม่ให้ขาข้างหนึ่งตกลงมา ขาข้างนั้นจะต้องหาที่ยึดบางอย่างไว้ 

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึง การระวัง หรือ การระวังไม่ให้ทั้งตัวคนนั้นตกลงมาจากที่นั่ง เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน

ผู้เขียนยังไม่ได้อธิบาย เรื่องมโนทัศน์เกี่ยวกับอุปลักษณ์ ซึ่งหมายถึง 1) การเปรียบสิ่งที่เป็นนามธรรม อธิบายได้ยาก ไปหาสิ่งที่มีระดับควาเป็นรูปธรรมมากกว่าเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายกว่า (แต่ Lakoff คงไม่เห็นด้วยนัก เพราะ คิดว่าเรามีชีวิตอยู่กับการอุปลักษณ์ และมองโลกผ่านการอุปลักษณ์เลยทีเดียว ท่านที่สนใจกรณาอ่าน metaphor we live by ของLakoff & Johnson (2003) ทว่า ผู้เขียนก็ไม่ได้รู้สึกว่า จะสำคัญขนาดนั้นที่ว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับมัน ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า อุปลักษณ์เป็นเครื่องมือในการอธิบายมโนทัศน์ที่อธิบายเป็นรูปธรรมได้ยากอยู่ดี เพราะเรามีคลังคำที่จำกัดต่างหาก เราจึงต้องยืมมโนทัศน์ หรือ คำมากมายใช้อธิบายความซับซ้อนของสิ่งที่เราเข้าใจหรือพยายามทำความเข้าใจต่างหาก เรื่องนี้ไว้จะกล่าวในบทความครั้งต่อๆ ไป) และ 2) มีตัวเชื่อม คือ ทั้งสองสิ่งนั้นมีคุณสมบัติภายในที่คล้ายกัน เช่น อุปลักษณ์ ความรักคือการเดินทาง กล่าวคือ ความรัก เป็นหน่วยนามธรรม ตีความได้ยาก และเป็นสิื่งที่เราสนใจจะเปรียบ ในขณะที่การเดินทางเป็นหน่วยที่มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าซึ่งถูกเปรียบ และมีคุณสมบัติที่เชื่อมโยงกัน คือ เส้นทาง อุปสรรค หรือ เวลา เพราะ ความรักและการเดินทางจะมีคุณสมบัติ 3 อย่างที่กล่าวมา

แต่เมื่อคิดไปคิดมา กรณีที่ยกมาก็ไม่ใช่อุปลักษณ์เสียแล้ว (แล้วจะเขียนมาทำไมกันให้ยุ่งตีกันไปหมด) กลับน่าจะเป็นอะไรที่ง่ายกว่าน้น คือ น่าจะเป็นการใช้ personification มากกว่า หรือ บุคลาธิษฐาน กล่าวคือ ให้ขานั้นทำหน้าที่เสมือนมือคน แล้วก็คว้าสิ่งของ ซึ่งสิ่งที่คว้านั่น ก็คือ ขาอีกข้างหนึ่งนั่นเอง เพราะ เราคงไม่ใช้คำว่า ขาไป(ไขว่)คว้าอะไรเข้า แต่เราจะใช้ว่า มือ(ไขว่)คว้า อะไรเข้ามากกว่า

แต่ถ้าประเด็นนี้นำไปวิเ้คราะห์ใน conceptual blending (Evans & Green 2006) หรือ การวิเคราะห์อุปลักษณ์ประสาน ก็จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก แต่ผู้เขียนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจมากนัก ต่้องไปอ่านให้มากกว่านี้ ที่สำคัญ เป็นทฤษฎีที่เป็นอัตวิสัยมาก (subjectification) บางทีก็มากเกินไป เพราะปล่อยให้อำนาจควาเป็นอัตวิสัยครอบงำ และมาใช้อธิบายมากเกินไป จนกลายเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคล หรือ เน้นทางจิตวิทยามากเกินไป มากกว่าจะมุ่งอธิบายภาษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

ดังนั้น เราอาจจะต้องกลับไปดูพจนานุกรมเก่าๆ หรือ ภาษาถิ่นของไทย หรือ ภาษาอื่นๆ ที่่ภาษไทยยืมมาว่า คำว่า ไขว่ ใช้แทนคำว่า "คว้า"ได้จริงหรือไม่ ข้อสันนิษฐานนี้ก็จะถูกต้อง

 กลับมาต่อที่เรื่อง นั่งไขว่ห้าง การนั่งไขว่ห้างมีลักษณะพิเศษ คือ มีการเกาะ อนึ่่ง เราก็จะไม่เรียกการนั่งไขว่ห้างนี้ว่า "นั่งขัด" หรือ "ขด" (คดตะหว๋าย – ในภาษาไทยถิ่นเหนือ) เพราะจะหมายถึงการขัดสมาธิ ที่เป็นการนั่งที่ใช้เท้าทั้งสองมาขัดกันขัด ลักษณะเด่น คือ และเท้าทั้งสองมีหน้าที่เท่าๆ กัน คือ ขัดกันเอง  ดังนั้น ลักษณ์ (feature) ที่สำคัญคือ ระดับความเข้มข้นของหน้าที่ของเท้าแต่ละข้าง แต่ นั่งไขว่ห้าง เท้าแต่ละข้างจะมีหน้าที่ไม่เท่ากัน นั่นคือ ขาข้างหนึ่งเป็นที่จับยึด (passive) อีกข้างหนึ่งทำหน้าที่กระหวัด (active)

ส่วน "ห้าง" นั้นก็ตรงตัวตามความหมายในอดีต ซึ่งหมายถึง นั่งร้าน ร้าน เช่น ห้างบนต้นไม้ที่ใช้อำพรางตนเองไม่ให้สัตว์ป่าเห็นในเวลากลางคืน ห้างนี้เมื่อนั่งแล้ว ก้นของผู้นั่งจะต้องอยู่ในระดับที่สูงกว่าพื้นดิน

แต่กรณีที่เรานั่งอยู่บนห้าง หากเราปล่อยขาทั้งสองข้างให้ตกลงมาอย่างอิสระ  ไม่มีการขัดไว้อย่างนั่งสมาธิ เราก็ยังไม่เรียกว่านั่งไขว่ห้าง แต่จะเรียกว่า นั่งเฉยๆ  จะต้องมีลักษณะของการกระทำที่ไม่เท่ากันอยู่ แต่ถ้ากระทำเท่าๆ กัน เช่น นั่งขัดสมาธิบนห้าง เราก็ไม่เรียกว่าเป็นการนั่งไขว่ห้างเช่นเดียวกัน

โดยสรุป คำว่า "ไขว่" (คว้า) คือ การขัดขาตนเองไว้ ซึ่งต้องนั่งอยู่ในลักษณะที่ ปล่อยเท้าลงมาอย่างอิสระ ระดับของ เท้ากับ ก้นจะต้องไม่เท่ากัน และ ต้องมีขาข้างหนึ่งที่ทำหน้าที่กระหวัดและขาอีกข้างถูกกระหวัดไว้ (คือ ขาแต่ละข้างทำหน้าที่ต่างกัน)  และห้าง บ่งบอกที่นั่งว่า ลักษณะการนั่งที่มีการห้อยขาลงมา ก้นจะต้องสูงกว่าพื้นดิน จึงเรียกว่านั่งอยู่บนห้างได้ ไม่ได้นั่งพับเพียบ หรือ นั่งยองๆ ที่ ก้นกับขาเกือบจะอยู่ในระดับที่เท่ากัน

และเช่นกัน เราก็คงไม่เรียกว่า นั่งเกาะห้าง นั่งกระหวัดห้าง หรือ นั่งกระหวัดขา (อันหลังน่าจะหมายถึง ทั้งไขว่ห้าง และนั่งขัดสมาธิได้)

อีกประการหนึ่ึง ในภาษาไทยปัจจุบัน เราจะพบว่ามีคำซ้อนความหมายเป็นจำนวนมาก แต่ความหมายนั้นมักซ้ำกัน (จริงๆ แล้วมีคำซ้อนแบบหน่วยคำมีความหมารยตรงกันข้ามกันด้วย เช่นกัน อาทิ (ข้อ)เท็จจริง ใกล้ไกล เป็นต้น) ซึ่งส่วนใหญ่หน่วยคำที่ไม่มีความหมายในภาษาไทยกลาง จะมีความหมาย หรือ มักมีความหมาย และ ยังคงใช้อยู่และปรากฏในภาษาไทยถิ่น ภาษาถิ่นที่เด่นๆ ที่ยังคงใช้หน่วยคำที่เหมือนจะไม่มีความหมายในภาษาไทยกลาง คือ ภาษาไทยถิ่นเหนือ และอีสาน เช่น ซ่องสุม ไทยกลางไม่ใช้ซ่อง(ส้อง ก็ใช้ในภาษาไทยโบราณ ส้องเสพ เป็นต้น - ตัวอย่างนี้อาจจะไม่ดีนัก) อ่อนนุ่ม สรงสนาน แต่นะจะใช้ในไทยถิ่นอื่นๆ หรือ เป็นคำยืมจากภาษาอื่นๆ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร นอกจากนี้ ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ มักเป็นคำกริยาที่กลายเป็นคำนาม

เรื่องนั่งไขว่ห้างก็จบแล้วครับ ผมเองก็นั่งไขว่ห้างเป็นปรกติ จริงๆ แล้วตามความเชื่อแบบหมอดูเขาบอกว่าคนนั่งไขว่ห้างเป็นคนฉลาดนะครับ  แต่คุณหมอบอกไม่ดี เพราะเลือดไหวเวียนไม่สะดวก แล้วจะทำให้ปวดหัวด้วยเวลาลุกขึ้นยืน ไว้จะต้องปรับปรุงท่านั่่งตัวเองเสียแล้ว วันนี้เอาไว้เท่านี้ก่อนครับ สวัสดีครับ