ที่มาของคำว่า "นั่งไขว่ห้าง"
ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณเจ้าของกระทู้ใน FB ซึ่งผู้เขียนก็ไม่กล้าจะล่วงละเมิดไปตอบคำถาม เพราะเจ้าของกระทู้เขาไม่ได้ถามเอง กลัวเขาจะว่า เขาถามคนอื่น แต่ก็มีอาการอยากจะตอบเสียเต็มที่ จึงพยายามลองวิเคราะห์ดู และได้คำตอบดังนี้ ว่าคำนี้ น่าจะมีที่ไปที่มาเป็นอย่างไร
ผู้เขียนจึงพยายามที่จะอธิบายและแสดงที่มาของคำๆ นี้ว่าน่าจะมีที่มาที่ไปอย่างไร
คำว่า นั่งไขว่ห้าง นั่ง นั้นเราคงไม่ต้องบรรยายว่าหมายถึงอะไร ก็เป็นที่รู้กันดี ลองไปดู wikipedia ก็เขียนไว้ดีมากในคำอธิบายทีเ่ป็นภาษาอังกฤษ (sit)
ขอเสริมก่อนว่า น่าสนใจว่า ในภาษาอังกฤษ คำว่า "นั่งไขว่ห้าง" จะใช่คำว่า "cross-legged" ซึ่่งกินความหมายที่กว้างกว่าภาษาไทย เพราะ หมายถึง การนั่งขัดสมาธิทุกประเภท และการนั่งไขว่ห้างด้วย เราจึงอนุมานได้ว่า ในภาษาไทยมีการจำแนกคำที่ละเอียดมากกว่า เพราะในภาษาไทย มีการบ่งชี้ลักษณะการนั่งมากมาย ในกรณีที่ท่านั่งนั้นๆ เป็นท่านั่งมาตรฐาน (หรืออาจคิดในมุมกลับกัน ฝรั่งมองว่า ท่านั่งเหล่านี้ไม่มาตรฐานสำหรับเขา หรือ อาจจะถามคนไทยว่า ทำไมยูไม่นั่งบนเก้าอี้หรือโซฟาแทนล่ะ นั่งกับพื้น เมื่อยจะแย่ ประหลาดจัง) เช่น นั่งพับเพียบ (แต่ผู้เขียนก็ยังไม่ได้รวบรวมและนำมาเปรียบกันสักที) อนึ่ง รูปคำเรียกการนั่งเหล่านี้ ไม่ได้รวมการใช้หน่วยคำอุปสรรค/ theme (นั่ง) +คำแสดงอารมณ์ เช่น นั่งจับเจ่า นั่งเหงา หรือ การนั่งประเภทอื่นๆ เช่น นั่งถ่าย นั่งๆ นอนๆ ฯลฯ เราจะยังไม่นับคำเหล่านี้ เนื่องจาก ในภาษาอังกฤษก็น่าจะมีคำเหล่านี้ไม่น้อย เรายังเน้นที่การนั่งแบบมาตราฐานทั่วไป มิใช่คำแสดงอารมณ์ หรือ แสดงสภาวะทางจิตบางประการ
กลับมาที่เรื่องเดิม "ไขว่ห้าง" เราจะพิจารณาคำว่า "ห้าง" ที่หลังสุด คำว่า “ไขว่”
(ผู้เขียนคิดว่า คำนี้ มักจะไปกับคำว่า คว้า) ซึ่งหมายถึง
การหาที่มั่น จับ ยึด เกี่ยว กระหวัดไว้ไม่ให้ตกลงไป หรือ โบกมือไปเหนือหัว เพื่อไปคว้าอะไรบางอย่างไว้ที่อยู่นิ่ง หรือหลัก ดังนั้น น่าจะเป็นอุปลักษณ์ (metaphor) เกี่ยวกับลักษณะการนั่งที่ไม่ให้ขาข้างหนึ่งตกลงมา ขาข้างนั้นจะต้องหาที่ยึดบางอย่างไว้
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึง การระวัง หรือ การระวังไม่ให้ทั้งตัวคนนั้นตกลงมาจากที่นั่ง เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน
ผู้เขียนยังไม่ได้อธิบาย เรื่องมโนทัศน์เกี่ยวกับอุปลักษณ์ ซึ่งหมายถึง 1) การเปรียบสิ่งที่เป็นนามธรรม อธิบายได้ยาก ไปหาสิ่งที่มีระดับควาเป็นรูปธรรมมากกว่าเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายกว่า (แต่ Lakoff คงไม่เห็นด้วยนัก เพราะ คิดว่าเรามีชีวิตอยู่กับการอุปลักษณ์ และมองโลกผ่านการอุปลักษณ์เลยทีเดียว ท่านที่สนใจกรณาอ่าน metaphor we live by ของLakoff & Johnson (2003) ทว่า ผู้เขียนก็ไม่ได้รู้สึกว่า จะสำคัญขนาดนั้นที่ว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับมัน ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า อุปลักษณ์เป็นเครื่องมือในการอธิบายมโนทัศน์ที่อธิบายเป็นรูปธรรมได้ยากอยู่ดี เพราะเรามีคลังคำที่จำกัดต่างหาก เราจึงต้องยืมมโนทัศน์ หรือ คำมากมายใช้อธิบายความซับซ้อนของสิ่งที่เราเข้าใจหรือพยายามทำความเข้าใจต่างหาก เรื่องนี้ไว้จะกล่าวในบทความครั้งต่อๆ ไป) และ 2) มีตัวเชื่อม คือ ทั้งสองสิ่งนั้นมีคุณสมบัติภายในที่คล้ายกัน เช่น อุปลักษณ์ ความรักคือการเดินทาง กล่าวคือ ความรัก เป็นหน่วยนามธรรม ตีความได้ยาก และเป็นสิื่งที่เราสนใจจะเปรียบ ในขณะที่การเดินทางเป็นหน่วยที่มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าซึ่งถูกเปรียบ และมีคุณสมบัติที่เชื่อมโยงกัน คือ เส้นทาง อุปสรรค หรือ เวลา เพราะ ความรักและการเดินทางจะมีคุณสมบัติ 3 อย่างที่กล่าวมา
แต่เมื่อคิดไปคิดมา กรณีที่ยกมาก็ไม่ใช่อุปลักษณ์เสียแล้ว (แล้วจะเขียนมาทำไมกันให้ยุ่งตีกันไปหมด) กลับน่าจะเป็นอะไรที่ง่ายกว่าน้น คือ น่าจะเป็นการใช้ personification มากกว่า หรือ บุคลาธิษฐาน กล่าวคือ ให้ขานั้นทำหน้าที่เสมือนมือคน แล้วก็คว้าสิ่งของ ซึ่งสิ่งที่คว้านั่น ก็คือ ขาอีกข้างหนึ่งนั่นเอง เพราะ เราคงไม่ใช้คำว่า ขาไป(ไขว่)คว้าอะไรเข้า แต่เราจะใช้ว่า มือ(ไขว่)คว้า อะไรเข้ามากกว่า
แต่ถ้าประเด็นนี้นำไปวิเ้คราะห์ใน conceptual blending (Evans & Green 2006) หรือ การวิเคราะห์อุปลักษณ์ประสาน ก็จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก แต่ผู้เขียนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจมากนัก ต่้องไปอ่านให้มากกว่านี้ ที่สำคัญ เป็นทฤษฎีที่เป็นอัตวิสัยมาก (subjectification) บางทีก็มากเกินไป เพราะปล่อยให้อำนาจควาเป็นอัตวิสัยครอบงำ และมาใช้อธิบายมากเกินไป จนกลายเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคล หรือ เน้นทางจิตวิทยามากเกินไป มากกว่าจะมุ่งอธิบายภาษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ดังนั้น เราอาจจะต้องกลับไปดูพจนานุกรมเก่าๆ หรือ ภาษาถิ่นของไทย หรือ ภาษาอื่นๆ ที่่ภาษไทยยืมมาว่า คำว่า ไขว่ ใช้แทนคำว่า "คว้า"ได้จริงหรือไม่ ข้อสันนิษฐานนี้ก็จะถูกต้อง
กลับมาต่อที่เรื่อง นั่งไขว่ห้าง การนั่งไขว่ห้างมีลักษณะพิเศษ
คือ มีการเกาะ อนึ่่ง เราก็จะไม่เรียกการนั่งไขว่ห้างนี้ว่า "นั่งขัด" หรือ "ขด" (คดตะหว๋าย – ในภาษาไทยถิ่นเหนือ) เพราะจะหมายถึงการขัดสมาธิ ที่เป็นการนั่งที่ใช้เท้าทั้งสองมาขัดกันขัด ลักษณะเด่น คือ และเท้าทั้งสองมีหน้าที่เท่าๆ กัน คือ
ขัดกันเอง ดังนั้น ลักษณ์ (feature) ที่สำคัญคือ
ระดับความเข้มข้นของหน้าที่ของเท้าแต่ละข้าง แต่ นั่งไขว่ห้าง เท้าแต่ละข้างจะมีหน้าที่ไม่เท่ากัน
นั่นคือ ขาข้างหนึ่งเป็นที่จับยึด (passive) อีกข้างหนึ่งทำหน้าที่กระหวัด
(active)
ส่วน "ห้าง" นั้นก็ตรงตัวตามความหมายในอดีต ซึ่งหมายถึง นั่งร้าน ร้าน เช่น ห้างบนต้นไม้ที่ใช้อำพรางตนเองไม่ให้สัตว์ป่าเห็นในเวลากลางคืน ห้างนี้เมื่อนั่งแล้ว ก้นของผู้นั่งจะต้องอยู่ในระดับที่สูงกว่าพื้นดิน
แต่กรณีที่เรานั่งอยู่บนห้าง หากเราปล่อยขาทั้งสองข้างให้ตกลงมาอย่างอิสระ
ไม่มีการขัดไว้อย่างนั่งสมาธิ เราก็ยังไม่เรียกว่านั่งไขว่ห้าง
แต่จะเรียกว่า นั่งเฉยๆ จะต้องมีลักษณะของการกระทำที่ไม่เท่ากันอยู่
แต่ถ้ากระทำเท่าๆ กัน เช่น นั่งขัดสมาธิบนห้าง เราก็ไม่เรียกว่าเป็นการนั่งไขว่ห้างเช่นเดียวกัน
โดยสรุป คำว่า "ไขว่" (คว้า) คือ การขัดขาตนเองไว้ ซึ่งต้องนั่งอยู่ในลักษณะที่
ปล่อยเท้าลงมาอย่างอิสระ ระดับของ เท้ากับ ก้นจะต้องไม่เท่ากัน และ
ต้องมีขาข้างหนึ่งที่ทำหน้าที่กระหวัดและขาอีกข้างถูกกระหวัดไว้ (คือ ขาแต่ละข้างทำหน้าที่ต่างกัน) และห้าง บ่งบอกที่นั่งว่า ลักษณะการนั่งที่มีการห้อยขาลงมา
ก้นจะต้องสูงกว่าพื้นดิน จึงเรียกว่านั่งอยู่บนห้างได้ ไม่ได้นั่งพับเพียบ หรือ นั่งยองๆ ที่ ก้นกับขาเกือบจะอยู่ในระดับที่เท่ากัน
และเช่นกัน เราก็คงไม่เรียกว่า
นั่งเกาะห้าง นั่งกระหวัดห้าง หรือ นั่งกระหวัดขา (อันหลังน่าจะหมายถึง
ทั้งไขว่ห้าง และนั่งขัดสมาธิได้)
อีกประการหนึ่ึง ในภาษาไทยปัจจุบัน
เราจะพบว่ามีคำซ้อนความหมายเป็นจำนวนมาก แต่ความหมายนั้นมักซ้ำกัน (จริงๆ แล้วมีคำซ้อนแบบหน่วยคำมีความหมารยตรงกันข้ามกันด้วย เช่นกัน อาทิ (ข้อ)เท็จจริง ใกล้ไกล เป็นต้น) ซึ่งส่วนใหญ่หน่วยคำที่ไม่มีความหมายในภาษาไทยกลาง จะมีความหมาย หรือ มักมีความหมาย
และ ยังคงใช้อยู่และปรากฏในภาษาไทยถิ่น ภาษาถิ่นที่เด่นๆ
ที่ยังคงใช้หน่วยคำที่เหมือนจะไม่มีความหมายในภาษาไทยกลาง คือ ภาษาไทยถิ่นเหนือ
และอีสาน เช่น ซ่องสุม ไทยกลางไม่ใช้ซ่อง(ส้อง ก็ใช้ในภาษาไทยโบราณ ส้องเสพ เป็นต้น - ตัวอย่างนี้อาจจะไม่ดีนัก) อ่อนนุ่ม สรงสนาน แต่นะจะใช้ในไทยถิ่นอื่นๆ หรือ เป็นคำยืมจากภาษาอื่นๆ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร นอกจากนี้ ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ มักเป็นคำกริยาที่กลายเป็นคำนาม
No comments:
Post a Comment