Monday, 19 November 2012

อักษรสามหมู่




วิธ๊จำอักษร 3 หมู่

พยัญชนะไทยมี 44 ตัว แบ่งเป็นกลุ่มตามลักษณะการผันอักษรได้ 3 กลุ่ม เรียกว่าอักษร 3 หมู่ ดังนี้

1. อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

การที่จะจำอักษรกลางให้ได้ง่าย ๆ ให้ท่องว่า ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง

ไก่ ( ก ) จิก ( จ ) เด็ก( ฎ ) ตาย ( ฏ ) เด็ก ( ด ) ตาย ( ต ) บน ( บ ) ปาก ( ป ) โอ่ง ( อ )

2. อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

การที่จะจำอักษรสูงให้ได้ง่าย ๆ ให้ท่องว่า ผี ฝาก ถุง ข้าว สาร ให้ ฉัน

ผี ( ผ ) ฝาก ( ฝ ) ถุง ( ฐ ถ ) ข้าว ( ฃ ข ) สาร ( ศ ษ ส ) ให้ ( ห ) ฉัน ( ฉ )

3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว สำหรับอักษรต่ำสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทครับ คืออักษรคู่และอักษร

เดี่ยว อักษรคู่คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับกับอักษรสูง เช่น ข กับ ค พ กับ ผ 

3.1 อักษรคู่ มี 14 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ

การที่จะจำอักษรต่ำประเภทอักษรคู่ให้ได้ง่าย ๆ ให้ท่องว่า พ่อ ค้า ฟัน ทอง ซื้อ ช้าง ฮ่อ

พ่อ ( พ ภ ) ค้า ( ค ฅ ) ฟัน ( ฟ ) ทอง ( ฒ ฑ ท ธ ) ซื้อ ( ซ ) ช้าง ( ช ) ฮ่อ (ฮ )

3.2 อักษรเดี่ยว มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ 

การที่จะจำอักษรต่ำประเภทอักษรเดี่ยวให้ได้ง่าย ๆ ให้ท่องว่า งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก 

งู ( ง ) ใหญ่ ( ญ ) นอน ( น ) อยู่ ( ย ) ณ( ณ ) ริม ( ร ) วัด ( ว ) โม ( ม ) ฬี ( ฬ ) โลก ( ล )



ข้อควรรู้จาก
http://krupiyarerk.wordpress.com/2011/09/09/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3-3-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88/

อักษรต่ำ
อักษรต่ำ  มีทั้งหมด ๒๔ ตัว ได้แก่
ค ฅ ฆ ง
ช ซ ฌ ญ
ฑ ฒ ณ ท ธ น
พ ฟ ภ ม
ย ร ล  ว ฬ ฮ
อักษรต่ำที่นิยมนำมาผันอักษร คือ ค ง ช ท น พ ฟ ม ย ร ล ว
อักษรต่ำ  แยกออกเป็น  อักษรคู่  และ  อักษรเดี่ยว เพื่อประโยชน์ในการผันอักษรให้ครบ  ๕  เสียง  ดังนี้
         อักษรคู่  มีทั้งหมด ๑๔ ตัว ได้แก่
ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ  

โดยอักษรคู่นี้ต้องผันเสียงทำหน้าที่ร่วมกับอักษรสูง  (พิจารณาตามหน่วยเสียง)  ดังนี้
/ค/   ค ฅ ฆ           ผันอักษรร่วมกับ  ข
/ช/   ช ฌ             ผันอักษรร่วมกับ  ฉ
/ซ/   ซ                ผันอักษรร่วมกับ  ส
/ท/   ฑ ฒ ท ธ       ผันอักษรร่วมกับ  ถ
/พ/   พ  ภ             ผันอักษรร่วมกับ  ผ
/ฟ/   ฟ                 ผันอักษรร่วมกับ  ฝ
/ฮ/   ฮ                  ผันอักษรร่วมกับ  ห

อักษรเดี่ยว  มีทั้งหมด ๑๐ ตัว ได้แก่
ง  ญ  ณ  น  ม   ย   ร   ล  ว  ฬ

อักษรต่ำเดี่ยวนี้ต้องผันเสียงทำหน้าที่ร่วมกับอักษร  “อ  และ  ห”  อันทำหน้าที่เป็นอักษรนำเพื่อผันอักษรให้ครบ ๕ เสียง

note: อักษรต่ำ เช่น คะ (คำตาย) เป็นเสียงตรี ไม่มีรูปวรรณยุกต์  ค่ะ เสียงวรรณยุกต์เอก 



ข้อมูลจากอีกแหล่งหนึ่งที่เขียนไว้อย่างดี

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C

การผันวรรณยุกต์

        ผันวรรณยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.วรรณยุกต์มีรูป หมายถึงวรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่เบื้องบนอักษร มีอยู่ 4 รูปคือ
วรรณยุกต์ เอก
วรรณยุกต์ โท
วรรณยุกต์ ตรี
วรรณยุกต์ จัตวา
โดยลำดับ และให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตอนสุดท้าย เช่น
        ก่ ก้ ก๊ ก๋ ปั่น ปั้น ลื่น เลี่ยน เป็นต้น ถ้าเป็นอักษรควบหรืออักษรนำให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตัวที่ 2 เช่น
        ครุ่น คลื่น เกลื่อน เกล้า ใกล้ เสน่ห์ หมั่น โกร๋น ฯลฯ
        รูปวรรณยุกต์นี้เริ่มใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่มีใช้อยู่เพียง 2 รูปเท่านั้นคือ ไม้เอก กับไม้โท แต่ไม้โทในสมัยนั้นเขียนเป็นรูป กากบาท ( + ) เหมือนไม้จัตวาในปัจจุบัน
        ต่อมาในปลายสมัยกรุงสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนรูปกากบาทมาเป็นรูปไม้โทเช่นปัจจุบัน ส่วนไม้ตรีกับไม้จัตวายังไม่มีใช้ น่าจะเพิ่มมีใช้เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะได้คิดสำหรับใช้เขียนคำที่มาจากภาษาจีนเป็นมูลเหตุ ดังปรากฎคำเขียนอยู่ในกฎหมายศักดินาพลเรือนซึ่งมีคำเขียนเป็นภาษาจีนที่ใช้ไม้ตรีและจัตวากำกับอยู่หลายชื่อเช่น จุ้นจู๊ - นายสำเภา , บั๋นจู๊ - พนักงานซ่อมแปลงสำเภา เป็นต้น
        ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือก่อนนั้นขึ้นไปก็ยังไม่มีวรรณยุกต์ตรี หรือวรรณยุกต์จัตวาใช้ ข้อนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่งขึ้นในสมัยนั้น
มีโคลงบอกวรรณยุกต์ไว้บทหนึ่งว่า
สมุหเสมียนเรียนรอบรู้ วิสัญช์
พินเอกพินโททัณ ฑฆาตคู้
ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา
แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน
        ข้อความในโคลงบทนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรี และ วรรณยุกต์จัตวาใช้ ถ้ามีใช้คงจะได้ปรากฎอยู่ในโคลงบทนี้ เพราะเป็นตำราเรียนอยู่ในสมัยนั้น
2.วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่เสียงที่มีทำนองสูงต่ำตามหมวดหมู่ของตัวอักษร โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนมีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ด้วยเช่น นา หนะ นาก นะ หนา ฯลฯ
        วรรณยุกต์ไม่มีรูปต่างกับวรรณยุกต์ที่มีรูปคือ วรรณยุกต์ที่มีรูปจะต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับอยู่บนตัวอักษร และมีเพียง 4 เสียงเท่านั้นคือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ตามรูปวรรณยุกต์แต่ไม่มีเสียงสามัญ ส่วนวรรณยุกต์ไม่มีรูปจะมีครบทั้ง 5 เสียงเต็มตามจำนวนเสียงที่กำหนดใช้อยู่ในภาษาไทย โดยไม่มีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับ แต่อาศัยการออกเสียงตามหมู่ของอักษรทั้ง 3

 เสียงของการผันวรรณยุกต์ เราแบ่งได้ดังนี้

  • พื้นเสียง คือ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์
  • คำเป็น คือ คำที่ประสมกับสระเสียงยาว (แม่ก.กา) หรือเสียงสั้นที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่น มา กิน ข้าว ฯลฯ   และรวมคำที่ประสมกับสระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา 
  • คำตาย คือ คำที่ประสมกับสระเสียงสั้น(แม่ก.กา) หรือเสียงยาวที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น เด็ก นะ จาก ฯลฯ และ ไม่รวมคำที่ประสมกับสระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา 
  • คำตาย ผันได้ 3 แบบ ใช้รูปเขียนวรรณยุกต์ เอก โท จัตวา แต่เสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฎจริงอาจจะไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
2.คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ

วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์

        วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์ นั้น ใช้ผันรูปวรรณยุกต์ต่าง ๆ กันดังนี้

A) อักษรสูง สามารถผันได้ด้วยวรรณยุกต์รูป เอก และ โท คำเป็นผันได้ 3 เสียงวรรณยุกต์ คำตายผันได้ 2 เสียงวรรณยุกต์ 
หมายเหตุ  แม้ว่า อักษรสูง-คำตาย-เสียงสั้นสามารถใช้รูปวรรณยุกต์ได้ทั้งสองก็จริง แล้วก็เกิดเสียงได้จริง แต่ว่าเราต้องยึดที่ความหมาย เพราะไม่ อักษรสูง คำตาย เสียงสั้น ที่ใช้รูปวรรณยุกต์โท ไม่มีความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน
ภาพ:การผัน.JPG
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา         เช่น ขา ขง ขน ขม เขย ขาว เมื่อผันด้วยรูปวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงวรรณยุกต์เอก        เช่น ข่า ข่ง ข่น ข่ม เข่ย ข่าว เมื่อผันด้วยรูปวรรณยุกต์โท        ก็ยังคงเป็นเสียงวรรณยุกต์โท         เช่น ข้า ข้ง ข้น ข้ม เข้ย ข้าว
คำตาย (คำเสียงสั้นในแม่ ก.กา หรือคำที่มีเสียงยาวแต่มีตัวสะกด ในแม่ กก กบ และ กด ยกเว้น อำ ไอ ใอ เอา) พื้นเสียงเป็นเสียงเอก) เช่น ขะ ขก ขด ขบ ขาก ขาด ขาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด ข้บ ข้าก ข้าด ข้าบ
(ข้อสังเกตเรื่อง อักษรสูง-คำตาย คือ ตามกฎของอักษรสูงคำเป็นที่มีข้อจำกัดในการการผัน กล่าวคือ ผันได้เพียงสามเสียง แต่ อักษรสูงคำตายจะเลื่อนเสียงวรรณยกุต์ไปอีก 1 ขั้น และต้องใช้รูปแบบอื่นๆ มาช่วยจึงจะผันได้มากขึ้น (อนึ่งในที่นี้ไม่ได้ยึดตามแนวกลสัทศาสตร์ แต่ยึด การเรียงวรรณยุกต์ เอก-จัตวา แบบ classic)

ภาพ:กลาง1.JPG
คำเป็น ผันได้ 5 คำ คำตายผันได้ 4 คำ คำเป็น         พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว
ผันด้วยวรรณยุกต์เอก        เป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว
คำตาย         พื้นเสียงเป็นเสียงเอก (สูญเสียเสียงสามัญไป) เช่น กะ กก กด กบ กาก กาด กาบ
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้ะ ก้ก ก้ด ก้บ ก้าก ก้าด ก้าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊ะ ก๊ก ก๊ด ก๊บ ก๊าก ก๊าด ก๊าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋ะ ก๋ก ก๋ด ก๋บ ก๋าก ก๋าด ก๋าบ

C) อักษรต่ำ ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท คำเป็นผันได้ 3 คำ พยัญชนะเสียงต่ำ
ภาพ:ต่ำ1.JPG
คำเป็น         พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา คง คน คม เคย คาว
ผันด้วยรูปวรรณยุกต์เอก  (+1)      เป็นเสียงโท เช่น ค่า ค่ง ค่น ค่ม เค่ย ค่าว
ผันด้วยรูปวรรณยุกต์โท (+1)        เป็นเสียงตรี เช่น ค้า ค้ง ค้น ค้ม เค้ย ค้าว
คำตาย สระสั้น       ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่ พื้นเสียงเป็นตรี (+4)  เช่น คะ คก คด คบ
ผันด้วยรูปวรรณยุกต์เอก (+1)       เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ
ผันด้วยรูปวรรณยุกต์จัตวา (+0)       เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
คำตาย สระยาว        พื้นเสียงเป็นโท (+3) เช่น คาก คาด คาบ
ผันด้วยวรรณยุกต์โท    (+1)    เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ
หมายเหตุ:  (+x) หมายเลขแสดงระดับการเปลี่ยนแปลง เช่น คำตายเสียงสั้น  พื้นเสียงไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่เป็นเสียงตรี (+4 = ตรี)

      โดยสรุป จะเห็นได้ว่า 
1)อักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปวรรณยุกต์เสมอ 
2) อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่ารูปวรรณยุกต์หนึ่งขั้น เว้นไว้แต่รูปวรรณยุกต์จัตวา ซึ่งเสียงคงเป็นจัตวาตามรูปวรรณยุกต์เพราะไม่มีเสียงใดที่จะสูงไปกว่านั้นอีก เพราะเหตุที่อักษรต่ำมีเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ จึงมักทำให้เกิดความฉงนในเวลาต้องการจะทราบเสียงวรรณยุกต์ที่แท้จริง แต่ถ้าเข้าใจวิธีผันอักษรกลางเป็นอย่างดีแล้วก็สามารถเทียบเสียงได้โดยอาศัยอักษรกลางเป็นหลัก
ภาพ:ไตรยางค์.JPG
ตารางแสดงสรุปตัวอย่างการผันวรรณยุกต์ ของไตรยางศ์ 3 เสียง


สรุปกฎการผันโดยใช้พื้นเสียงเป็นเกณฑ์ (พื้นเสียงหมายถึง รูปคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ แต่มีเสียงวรรณยุกต์และมีกฏเฉพาะตายตัว)
อักษรกลาง คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ
อักษรกลาง คำตาย (กบด+เสียงสั้น ยกเว้น อำ ไอ ใอ เอา) พื้นเสียงเป็นเสียงเอก
*อักษรสูง คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา
*อักษรสูง คำตาย (กบด+เสียงสั้น ยกเว้น อำ ไอ ใอ เอา) พื้นเสียงเป็นเสียงเอก
อักษรต่ำ คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ
*อักษรต่ำ คำตายทั้งเสียงสั้น และยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท
ตัวอย่าง
!!!*อักษรต่ำ คำตาย เสียงยาว ที่มีตัวสะกด (กบด) พื้นเสียงเป็นเสียงโท (ระวังจะผันผิด เพราะเสียงจะไม่ซ้ำกันกับเสียงตร ในขณะที่ อักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น เสียงของโทและตรีจะซ้ำกัน ให้ยึดเสียงตรี เช่น kha33 kha11 kha42 kha42 kha11 ไม่มีตำแหน่งเสียงโท (ที่สาม)และจัตวา(ที่สี่))
เช่น งาบ (เสียงโท จังหวะนับจะได้ทั้งจังหวะโทและตรีให้ยึดตรี) ชาด (เสียงโท) ยาก (เสียงโท)
!!!อักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น (แม่ก.กา) หรือมีตัวสะกด (กบด) พื้นเสียงเป็นเสียงตรี
(ต่ำคู่) เช่น คะ  (เสียงตรี)  ชะ (ตรี) ทะ (ตรี) พะ (ตรี) ฟะ (ตรี) ฮะ (ตรี)
 (ต่ำเดี่ยว) เช่น 
งะ (ตรี) นะ (ตรี)ยะ (ตรี) ระ(ตรี)วะ(ตรี)

เราพบว่าวิธีท่องตำแหน่งทั้ง 5 โดยยึดตำแหน่งคล้ายกับอักษรกลาง จะทำให้ผันวรรณยุกต์ผิดได้ เพราะ อักษรตำ่ คำตาย เสียงสั้นและยาว (พื้นเสียงต่างกัน ตรี และโท ตามลำดับ) จะเกิดปัญหาในการท่อง เพราะต่ำแหน่งที่ 3 และ 4 เสียงวรรณยุกต์จะซ้ำกันเสมอ แม้เราจะใช้อักษรกลางเป็นหลักแล้วก็ตาม วิธีที่ดีที่สุด ต้องฝึกฟังเสียง และจับเสียงขึ้นลงให่ได้ (pitch)จะถูกต้องมากที่สุด ซึ่งนักภาษาศาสตร์ก็ทำแบบนั้น เพราะจะทำให้กฎมีน้อยและถูกต้อง 100%

เช่น คะ เสียงตรี  สูง         high tone 55
    คาด เสียงโท เสียงตก    falling   42
ต้องฝึกจดจำเสียง ear training จะแม่นยำมากที่สุด แต่ถ้าไม่ได้ ก็ต้องมาจำ trick ที่ว่า 


ต่ำ ตาย ยาว โท คาดคัั้น
ต่ำ ตาย สั้น ตรี คะ


ขอขอบคุณ reference ที่ทำให้ผมพอเข้าใจเรื่องการผันวรรณยุกต์ไทยที่แสนจะซับซ้อนจนได้








No comments:

Post a Comment